ดาวน์โหลด สรุปเวทีเสวนา ครั้งที่ 2 กองทุนภาคประชาสังคม : เพิ่มพลังพลเมือง สู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ประเด็น “ป่า แมกไม้ สายธาร คืนการจัดการทรัพยากรให้ชุมชน”
เวทีเสวนา ครั้งที่ 2
กองทุนภาคประชาสังคม : เพิ่มพลังพลเมือง สู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
ประเด็น “ป่า แมกไม้ สายธาร คืนการจัดการทรัพยากรให้ชุมชน”
วันอังคารที่ 29 เมษายน 2557 เวลา 13.30 - 16.30 น.
ณ ห้องปทุมวัน ชั้น 2 โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
1.หลักการ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 2516 2556 สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประชาธิปไตยในสังคมไทย มีการเปลี่ยนแปลงมาก แต่สังคมมีช่องว่าง มีปัญหาความเหลื่อมล้ำนักการเมืองส่วนใหญ่ให้ความสนใจไม่เต็มที่ใน ปรัชญา ความหมาย ของคำว่า ประชาธิปไตย หากมุ่งแข่งขันการเลือกตั้ง และการใช้เสียงส่วนมากในสภา ทำให้การพัฒนาการเมืองภาคประชาชนนำหน้าไปกว่าการเมืองระบอบผู้แทนในรัฐสภา เช่นการเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 พฤษภาคม 2535 และการเคลื่อนไหวมวลมหาประชาชน 2556 จนถึงปัจจุบัน ที่ได้เกิดกระแสการปฏิรูปสังคมและการมีส่วนร่วมภาคประชาชนสูงกว่าครั้งใดๆ เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศไทยสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
ปัจจุบันกลุ่มชนต่างๆ ในสังคมไทย ต่างออกมาเรียกร้องสิทธิกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องสิทธิในที่ดิน ในป่า ในแม่น้ำ หรือสิทธิในการทำประมงชายฝั่ง จึงเกิดมีคำถามตามขึ้นมาเสมอๆ ว่า ทำไมชาวบ้านถึงคิดว่าพวกเขามีสิทธิในทรัพยากรเหล่านั้นร่วมกัน ในขณะที่คนอีกบางกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนในภาคราชการ หรือกลุ่มคนในเมือง ที่อยู่นอกสังคมชนบท กลับคิดว่าชาวบ้านไม่มีสิทธิ การที่ชาวบ้านลุกขึ้นปกป้องสิทธิของตนด้วยการคัดค้านการสร้างเขื่อน การสร้างโรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน หรือการสร้างท่าเรือน้ำลึก ฯลฯ ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การเติบโตของเมืองและอุตสาหกรรมได้ผลักภาระต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมให้ชาวบ้านรับเคราะห์ เช่น ชาวเขาต้องถูกย้ายจากป่าเพื่อหลีกทางให้กับรัฐและทุน มลพิษอุตสาหกรรมทำลายสิ่งแวดล้อมชนบท รัฐประกาศเขตอุทยานทับที่อยู่อาศัยของประชาชน สิ่งก่อสร้างตามแนวชายฝั่งที่ส่งผลทบต่อระบบนิเวศน์ชายฝั่ง หรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภาคใต้ของประเทศไทย ฯลฯ
ประเด็น “สิทธิชุมชน” เป็นอุดมการณ์ที่แนบแน่นกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนมาอย่างยาวนาน จากการใช้ชีวิตร่วมกันของชาวชุมชนที่ต้องพึ่งพาอาศัย ร่วมทุกข์ร่วมสุข เกิดความเอื้ออาทรและผูกพัน ความขัดแย้งแตกแยกที่เกิดขึ้นจะผลักดันให้มีการคิดค้นหาวิธีการจัดการภายในให้ลุล่วงไป มีสิทธิในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิในการพิทักษ์รักษาวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสิทธอื่นๆ อันเกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่โดยไม่ถูกรุกล้ำล่วงเกิน เกี่ยวข้องกับความสามารถในการพึ่งตนเองของชุมชนของตน
ที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงด้านบวกเล็กๆในสังคมเศรษฐกิจ การเมือง ประชาธิปไตย จากส่วนกลางถึงชุมชน เป็นผลจากการทำงานของกลุ่มภาคประชาสังคม บทบาทองค์กรพัฒนาเอกชน ได้ทำงานบนพื้นฐานปรัชญา สิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค ที่คนเล็กคนน้อยมีส่วนร่วมมาอย่างต่อเนื่อง
คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนภาคประชาสังคม เห็นความสำคัญที่จะร่วมกันขับเคลื่อนกองทุนภาคประชาสังคม และระดมแลกเปลี่ยน ทำความเข้าใจในการร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจ ที่จะสร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ในการส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีอำนาจตามระบอบประชาธิปไตย ในสถานการณ์ที่กำลังจะมีการเปลี่ยนผ่านประเทศไทย จึงเห็นสมควรจัดการเสวนา ประเด็น “ป่า แมกไม้ สายธาร คืนการจัดการทรัพยากรให้ชุมชน”นี้ขึ้น
2.วัตถุประสงค์
3. กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ปฏิบัติงานองค์กรภาคประชาสังคม จำนวน 30 - 40 คน
4.วันเวลา สถานที่
วันอังคารที่ 29 เมษายน 2557 เวลา 13.30 -16.30 น.ณห้องปทุมวัน ชั้น 2 โรงแรมเอเชีย
5. ผู้รับผิดชอบ
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพซ) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนกองทุนภาคประชาสังคม
กำหนดการเสวนา
13.00 -13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 - 13.40 น. เกริ่นนำวัตถุประสงค์การจัดเวทีเสวนา
13.40 - 15.30 น. เสวนาประเด็น “ป่า แมกไม้ สายธาร คืนการจัดการทรัพยากรให้ชุมชน”
นำเสวนา โดย คุณไพโรจน์ พลเพชร
คณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป
สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
คุณนันทวัน หาญดี
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกจังหวัดฉะเชิงเทรา
คุณสุวิทย์กุหลาบวงศ์
เลขาธิการกป.อพช ภาคอีสาน
คุณประยงค์ ดอกลำไย
เลขาธิการกป.อพช ภาคเหนือ
15.30 -16.30 น. แลกเปลี่ยนเสวนาผู้เข้าร่วมประชุม
ผู้ดำเนินรายการ คุณเดช พุ่มคชา