“ที่ไหนมีการกดขี่ที่นั่นมีการต่อสู้ ซึ่งในการต่อสู้การไม่สู้คือการสู้แบบหนึ่ง” บางช่วงตอนจากการเล่าของ
นายประยงค์ ดอกลำไย นักพัฒนารุ่นเก๋า ผู้ผ่านประสบการณ์การต่อสู้เรื่องที่ดิน เรื่องสิทธิทำกินมายาวนาน กว่า 25 ปี จากการต่อสู้เพื่อของหน้าหมู่ ป่าสาธารณะหรือป่าชุมชนที่จ.ลำพูน ถึงการผลักดันกฏหมาย 4 ฉบับ ประยงค์หรือที่ใครๆ ในแวดวงงานพัฒนาเรียกว่าพี่เป็ด คนยุคเจนเนอร์เรชั่นเอ็กซ์ สถานะปัจจุบันเป็นผู้บริหารอยู่ที่มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ เป็นที่ปรึกษาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move) เป็นที่ปรึกษาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) เป็นที่ปรึกษาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) และยังมีตำแหน่งในองค์กรภาคประชาชนอื่นๆ อีกหลายบทบาท
จากครอบครัวชาวนา สู่รั่วมหาวิทยาลัย นายประยงค์ เล่าให้ฟังว่า ตนเป็นลูกครอบครัวชาวนามีพี่น้องทั้งหมด 4 คน ซึ่งทุกคนรับราชการ นอกจากตนเองที่เลือกเส้นทางนักพัฒนา จุดหักเหของชีวิตจากที่เคยเกเรประชดชีวิตแต่ก็เอาตัวรอดเรื่องเรียนมาได้โดยตลอด แม้จะเป็นหัวโจ็กของเพื่อนๆ ก็ตาม เคยผ่านความล้มเหลว แต่ก็ลุกขึ้นพยายามเรียนจนที่สุดได้ทุนบรรหารแจ่มใส ส่งให้เรียนจนจบ ม.ปลาย ท้ายสุดเมื่อตั้งใจก็สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยศิลปากรได้
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้นั้น นับเป็นการพิสูจน์ตนเองครั้งแรก แต่เมื่ออยู่มหาวิทยาลัยก็ใช้ชีวิตแบบเดิมร่วมกับเพื่อนที่มาจากบ้านนอก ใช้ชีวิตในรั่วมหาวิทยาลัยศิลปากร เคยคุ้ยขยะหาของกิน เสาร์-อาทิตย์ลอบตกปลาที่ทับแก้ว ตกกลางคืนกินเหล้า ใช้ชีวิตเสเพพอสมควร เป็นคนชั้นกลางระดับล่างที่รวมกลุ่มทำกิจกรรม ทำค่ายอยู่ชมรมอนุรักษ์ ไม่ค่อยได้เรียนทางวิชาการ ตอนเรียนย้ายคณะจากศึกษาศาสตร์ไปอยู่คณะอักษรศาสตร์
เมื่อจบคิดหาทางไปทำงานที่ไม่ใช่ราชการ เลยมุ่งหน้ามาที่สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร เป็นบัณฑิตอาสาช่วยงานหมออนามัย นอกจากฉีดยา และผ่าตัดแล้วตนเองก็ทำทุกอย่าง ต่อจากนั้นขยับไปเป็นอาสาสมัครต่อที่ มอส. จากที่ได้อ่านแม่จันทร์สายน้ำไม่ไหลเปลี่ยน เลยได้ไปสอนหนังสือเด็ก แต่ด้วยความไม่อยากเป็นครู พี่แดง (เตือนใจ ดีเทศน์) ให้ไปช่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม ทำเกษตรแนวระดับ เกษตรยั่งยืน
จากงานอาสาสมัครสู่นักพัฒนา ช่วงหนึ่งทำงานเคลื่อนไหวคัดค้านเขื่อน มีการสรุปว่าสิ่งที่ทำไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง จึงหันไปทำงานสานเครือข่าย เป็นรุ่นแรกๆ ที่ทำงานร้อนๆ อย่างเรื่องป่าห้วยแก้ว การสร้างเขื่อน การประกาศอุทยานทับที่ชาวบ้าน มีชาวบ้านเดือดร้อนจำนวนมาก สร้างเครือข่ายชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ทำอยู่ได้ระยะหนึ่งคิดว่าไปต่อไม่ไหวเพราะทำงานหลายหน้า เลยตัดสินใจช่วงปี 35 ก็กลับไปจัดตั้งเครือข่ายแก้ปัญหาที่ดินทำกิน
ที่ผ่านมาต่อสู้กับวาทกรรม ชาวเขาทำลายป่าต้นน้ำ จากการทำไร่เลื่อนลอย ไร่หมุนเวียน ตนได้ไปศึกษาต้นทุนชาวบ้าน ใช้บทเรียนชวนพี่บำรุง จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ จัดตั้งมาสู้ เร่งออก พ.ร.บ.จัดตั้งป่าชุมชน เพื่อมีกฎหมายมารองรับสิทธิชาวบ้าน เมื่อก่อนใช้เวลา 2 ปี ล่ารายชื่อ 5 หมื่นเพื่อเสนอกฎหมาย การต่อสู้ ยาวนานมากใช้การรณรงค์หลายรูปแบบ
เมื่ออกหักจาก พ.ร.บ.ป่าชุมชน พี่น้องบางส่วนจะกลับไปเผาป่า เราหยุดความรู้สึกคับแค้นของชาวบ้าน ไม่ได้ สุดท้ายกฎหมายก็ตกไป และมีการนำกลับมาเสนอยุค สนช. มีการยื่นให้ตีความ ชาวบ้านมีสิทธิตามหรือไม่ สุดท้ายการออกกฎหมายจำกัดสิทธิชาวบ้านก็ยังไม่มีการวินิจฉัย
จากบทเรียนป่าชุมชน กับการตัดสินบนพื้นฐานผลประโยชน์ ทุกครั้งที่พี่น้องรวมตัวชุมนุม จะได้ผลทุกครั้ง มากน้อยต่างไป วาทกรรมเรื่องคนจนเริ่มมีคนตั้งคำถาม ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ใช้แกนความไม่เป็นธรรมในการต่อสู้ แต่เหลื่อมล้ำขายไม่ออก เหลื่อมล้ำแล้วยังไงคนในสังคมไม่เข้าใจ
ทำอย่างไรให้สาธารณะเข้ามามีส่วนร่วม มีโจทย์ท้าทายหลายๆ เรื่อง เชื่อขบวนการเคลื่อนไหวของพี่น้อง ใช้ควบคู่กับการเจรจา การคิดแบบคู่ตรงข้ามไปไม่ได้ คนคิดถึงแต่ตัวเอง พูดอะไรที่คนในสังคมได้ด้วยคนกลุ่มต่างๆ ได้อะไรเราต้องตอบได้ ชีวิตผ่านมา เราเชื่อว่าทฤษฎีชนชั้นยังใช้ได้แต่ ที่ไหนมีการกดขี่ที่นั่นมีการต่อสู้ และการไม่สู้คือการสู้แบบหนึ่ง
อีกหนึ่ง “พลังพลเมือง” ที่ทำงานเพื่อชุมชน และผืนป่า ร่วมสนับสนุนกองทุนภาคประชาสังคม เพื่อเป็นพลังในการหนุนเสริมให้คนเหล่านี้มีพลังที่จะขับเคลื่อนสังคมต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)