กองทุนภาคประชาสังคม

สถานการณ์ด้านความมั่นคงทางการเงินของภาคประชาสังคมไทย

ความสำคัญและการขับเคลื่อน

เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรภาคประชาสังคม

ตอนที่ 4 : สถานการณ์ด้านความมั่นคงทางการเงินของภาคประชาสังคมไทย

 

 

ความมั่นคงทางการเงินในการดำเนินงานขององค์กรภาคประชาสังคมมีความสำคัญ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดกิจกรรมเพื่อการพัฒนา

คุณภาพชีวิตของประชาชนในสังคมแล้ว งบประมาณเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งในการสร้างความรู้สึกมั่นคงในการดำเนินชีวิตให้กับคน

ทำงานในองค์กรภาคประชาสังคม หรือการมีคุณภาพชีวิตที่ดีประการหนึ่ง คือ มีความมั่นคงในการทำงาน นำมาซึ่งแรงจูงใจในการพัฒนา

ศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจากองค์กรภาคประชาสังคมเป็นองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมที่ไม่แสวงหากำไร คำถามคือองค์กรภาค

ประชาสังคมของไทยมีความมั่นคงทางการเงินมากน้อยเพียงใดที่จะสามารถเป็นแรงจูงใจให้มีคนเกิดความรู้สึกมั่นคงในชีวิต

และร่วมทำงานเพื่อการพัฒนาสังคม

 

ในประเด็นเรื่องความมั่นคงขององค์กรภาคประชาสังคมไทยจะเป็นการสรุปผลการศึกษาของ The Synergos Institution (2002) ได้สรุป

ภาพรวมของภาคประชาสังคมไทย และสถานการณ์ความมั่นคงทางการเงินของภาคประชาสังคมไทย ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

พัฒนาการและสถานการณ์ของภาคประชาสังคมไทย

The Synergos Institution (2002) ได้สรุปภาพรวมของ องค์กรภาคประชาสังคมไทย ในช่วงปี 1977-1997 สรุปความได้ดังนี้

 ปี 1980 - 1990 เป็นช่วงที่องค์กรพัฒนาเอกชนมีการขยายตัวจำนวนมาก เช่น ปี 1989 มีองค์กรพัฒนาเอกชนในระดับท้องถิ่น

จำนวน 12,000 องค์กร โดย 44% ทำงานอยู่ในสาขาการพัฒนาและสวัสดิการ

 

ปีช่วงทศวรรษ 1990 เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทของ CSOS ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับ การเติบโตทางเศรษฐกิจ

ทำให้การดำเนินงานของ NGO มีปรับบทบาทสู่การทำงานเป็นกลุ่มเพื่อต่อค้านและรณรงค์เรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม

  • ในขณะเดียวกันมีอัตราการส่งออกมากขึ้น แต่เกิดความไม่เท่าเทียมในการกระจายรายได้ระหว่างเมืองกับชนบทมากขึ้น
  • ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นได้เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ก่อให้เกิดความสนใจเรื่องการพัฒนาชนบท กลุ่มเป้าหมายคือคนจน
  • แก้ปัญหาความยากจน การปรับค่านิยม การอนุรักษ์ค่านิยม วิถีชีวิตของชุมชน และคุ้มครองปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐาน
  • สถานการณ์ข้างต้นทำให้ CSOS มีบทบาทกับชุมชนในระดับรากหญ้า โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการต่อรองกับอำนาจรัฐ

 

พัฒนาการและสถานการณ์ของภาคประชาสังคมไทย

The Synergos Institution (2002) ได้สรุปสถานการณ์ความมั่นคงทางการเงินของภาคประชาสังคมไทย ดังนี้

  • การลดจำนวนเงินสนับสนุนขององค์กรระหว่างประเทศ ปี 1997 มีหน่วยงานองค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติ จำนวน 27 องค์กร  

           ที่ทำงานในประเทศไทย แต่ปัจจุบันเมื่อรายได้เฉลี่ยของประชากรอยู่สูงกว่าเส้นความยากจน หรือ achieved middle income

           country status ทำให้องค์กรนานาชาติถอนตัวลง

  • ที่มาของงบประมาณขององค์กรภาคประชาสังคมไม่มั่นคง : กล่าวคือ ร้อยละ 70 – 90 ของงบประมาณที่องค์กรภาคประชาสังคม

           ไทยใช้ในการดำเนินงานมาจากผู้บริจาคระหว่างประเทศหรือพึ่งพิงกองทุนระหว่างประเทศ จากสถานการณ์ข้างต้นทำให้องค์กร

           ภาคประชาสังคมของไทยต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงทาง การเงินและหลายหน่วยงานต้องปิดตัวลง

  • แม้ประเทศไทยจะมีองค์กรที่สามารถพึ่งทุนจากการประกอบธุรกิจไม่แสวงหากำไร เช่น  PDA – the People and community

           development associations แต่เป็นการยากที่องค์กรภาคประชาสังคมที่มีขนาดเล็กจะสามารถดำเนินการได้

  • Civil society Resource Organization องค์กรสนับสนุนทรัพยากร (งบประมาณ) ภายในประเทศ ให้การสนับสนุนงบประมาณ

           ขององค์กรมากกว่าการสนับสนุนองค์กรอื่นๆ ประเทศไทย แม้จะมีองค์กรภายในประเทศที่ให้การสนับสนุนทุน แต่เนื่องจากเงิน

           ทุนไม่ได้สูงมากนัก และส่วนมากจะเป็นการสนับสนุนทุนสำหรับโครงการขององค์กรมากกว่าเงินเพื่อองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ

           ทั้งนี้ หากพิจารณาจากแหล่งที่มาของงบประมาณขององค์กรพัฒนาเอกชนภายในประเทศมาจาก 2 แหล่ง ได้แก่ ภายในประเทศ

           และต่างประเทศ สำหรับในประเทศการบริจาคของปัจเจก ดอกเบี้ยเงินต้น และงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล สำหรับกรณีต่าง

           ประเทศพบว่า จะพบว่าเงินสนับสนุนมาจากแหล่งต่อไปนี้ (เรียงลำดับจากมากไปน้อย)

 

กล่าวได้ว่า งบประมาณการดำเนินงานขององค์กรภาคประชาสังคม ร้อยละ 70-90 ในช่วงปี 1977-1997 มาจากการพึ่งพาผู้บริจาค

ระหว่างประเทศ หรือพึ่งพิงกองทุนระหว่างประเทศ อีกทั้งแนวโน้นการสนับสนุนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อม

เพื่อความมั่นคงในการทำงานของคนในองค์กร หลายองค์กรจึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกิจกรรมการทำงานตามวัตถุประสงค์

ของผู้ให้ทุน การปรับเปลี่ยนดังกล่าวอาจส่งผลทำให้ประเด็นการพัฒนาที่จำเป็นและสำคัญของสังคมไทยถูกเพิกเฉย หรือไม่ได้

รับการกล่าวถึงในพื้นที่สาธารณะ อันนำไปสู่ปัญหาสังคมตามมา

 

Tag


powered by CIVIL SOCIETY EMPOWERMENT INSTITUTE