เมื่อเป้าหมายหลักประการหนึ่งขององค์กรภาคประชาสังคมคือการพิทักษ์สิทธิประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ผ่านการดำเนินงาน
ทั้งการเสริมพลังบุคคล กลุ่ม ชุมชน หรือการขับเคลื่อนนโยบาย กระบวนการปฏิบัติงานจะแตกต่างไปตามภารกิจของแต่
ละหน่วยงาน แต่ลักษณะร่วมประการหนึ่งขององค์กรเหล่านี้คือ องค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยแหล่งทุนในการดำเนินงาน
แต่ต้องไม่เป็นกิจกรรมเพื่อการแสวงหากำไรมาแบ่งปันในกลุ่มสมาชิกขององค์กร หรือเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรที่
มุ่งพัฒนาสังคม แล้วองค์กรภาคประชาสังคมมีนำงบประมาณจากแหล่งใดมาดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม
แหล่งทุนที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรภาคประชาสังคม สรุปได้ 2 แหล่งหลัก ได้แก่
1. แหล่งทุนจากการบริจาค ข้อมูลจากสำนักงานสถิติ พบว่า รายได้ขององค์กรเหล่านี้ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61 มาจาก
การบริจาค ซึ่งแหล่งทุนจากองค์กรระหว่างประเทศ เป็นแหล่งทุนหลักและสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน การ
ดำเนินงานขององค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอไทยในอดีตได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างประเทศ ตามประเด็น
ปัญหาต่างๆ ตั้งแต่ช่วงปลายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 โดยเริ่มที่มีเอ็นจีโอต่างประเทศเข้ามา
ทำงานช่วยผู้ลี้ภัย ในช่วงปี 2521 - 2523 จากนั้นเอ็นจีโอที่ทำงานอยู่ในค่ายอพยพได้ออกมาทำงานพัฒนาสังคมแถบ
พื้นที่ชายแดนโดยได้เริ่มในพื้นที่ภาคอีสาน
ต่อมาปี 2523 - 2526 การทำงานของเอ็นจีโอขยายตัวมากขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากเอ็นจีโอต่างประเทศ
เช่น ยูเสด ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย หรือประเทศอื่นๆ ซึ่งเอ็นจีโอต่างประเทศเหล่านี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศ
ของเขาส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินบริจาคที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมหารายได้การกุศลของเขาเอง แล้วนำไปส่งเสริม
พันธมิตรที่เป็นเอ็นจีโอของเขาในประเทศที่รัฐบาลของเขาให้การช่วยเหลือผ่านรัฐบาลประเทศนั้นๆองค์กรต่างประเทศ
ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการบริจาคเพื่อการพัฒนาสำหรับผู้ด้อยโอกาส โดยได้รับการสนับสนุนมาจากสถาบันศาสนา
ดังนั้นองค์กรต่างประเทศ อาทิ องค์กรพัฒนาเอกชนต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ รัฐบาลแคนาดา รัฐบาลเยอรมัน ฯลฯ
จึงให้เงินบริจาคแก่โครงการต่างๆ ที่เอ็นจีโอไทยเสนอ โดยการเขียนโครงการขอทุน 1 ปี หรือ 3 ปี แล้วแต่กรอบกติกาของ
แหล่งทุน แต่ปัจจุบันแหล่งทุนดังกล่าวมองว่าประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ได้มีการย้ายพื้นที่การสนับสนุนไปยัง
กลุ่มประเทศที่ยังขาดโอกาสในการพัฒนามากกว่าประเทศไทย เช่น กัมพูชา ลาว เและพม่าทำให้แหล่งทุนในประเทศ
ไทยลดลง นอกจากนี้การหารายได้ขององค์กรพัฒนาเอกชนในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นงานรับจ้างทำงานวิจัย งานฝึกอบรม
หรือการขายสินค้า เป็นเพียงแหล่งเงินทุนจำนวนน้อยเท่านั้น การถอนตัวขององค์กรระหว่างประเทศหรือทุนต่างประเทศ
แหล่งทุนหลักในข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้องค์กรพัฒนาเอกชนขาดงบประมาณที่มั่นคงและขาดเสถียรภาพ
การทำงาน
การบริจาคอีกประเภทหนึ่งคือการบริจาครายประเภทครัวเรือนไทย จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน
พ.ศ. 2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนไทยบริจาคสิ่งของ
ให้บุคคลภายนอกครัวเรือน 840 บาทต่อเดือนพบว่าการบริจาคของครัวเรือนไทยบริจาคเงิน/ สิ่งของให้กับบุคคล บริจาค
เงินทำบุญทางศาสนา 278 บาทต่อเดือน และบริจาคให้องค์กรสาธารณประโยชน์ ไม่ถึงร้อยละ 3 นอกจากนี้การบริจาคของ
ครัวเรือนไทยมีเพิ่มมากขึ้น แต่เป็นการเพิ่มในส่วนของบุคคลภาคนอกครัวเรือนและเงินทำบุญทางศาสนาหรือกล่าวได้ว่า
เกือบ 3 ใน 4 เป็นการบริจาคให้บุคคล
2. แหล่งทุนจากงบประมาณภาครัฐ รัฐบาลได้มีการจัดตั้งกองทุนตามกฎหมาย ภายใต้กระทรวงต่างๆ ซึ่งเป็นการสนับสนุน
ทั้งรายบุคคล กลุ่ม เช่น กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนคุ้มครองเด็ก และบางกองทุนให้การสนับสนุนองค์กรสาธารณประโยชน์ เช่น
กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม กองทุนเหล่านี้อยู่ในความดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กล่าวได้ว่ากองทุนเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับบุคคล กลุ่ม ชุมชน และองค์กร บางกองทุนมีกลไก
คณะกรรมการระดับจังหวัดในการพิจารณาอนุมัติงบประมาณตามกรอบที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
ในระดับท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง กิจกรรมที่กองทุนเหล่านี้ให้การสนับสนุน เช่น การพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ การพัฒนาศักยภาพ
ขององค์กรสวัสดิการสังคมที่จดทะเบียนกับกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กองทุนเหล่านี้แม้จะมี
แหล่งที่มาของงบประมาณในกองทุนที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่พึ่งพางบประมาณจากภาครัฐเป็นสำคัญ ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
คือ ตั้งแต่ปี 2546 ที่เริ่มมีการตั้งกองทุนฯ ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นั้น ในบางปี
ได้รับจัดสรรงบประมาณบางปีไม่ได้รับ หรือได้รับน้อยจนไม่สามารถดำเนินกิจกรรมให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ได้
ดังที่ ได้กล่าวข้างต้นใน พ.ร.บ. ของแต่ละกองทุนได้กำหนดแหล่งที่มาของงบประมาณหลายแหล่ง ดังเช่น งบประมาณที่ได้รับการ
สนับสนุนจากรัฐบาล หรือ เงินบริจาคเป็นต้น แต่พบว่าเงินบริจาคจากภาคประชาชนได้ค่อนข้างน้อย ดังเช่นกองทุนผู้สูงอายุ มีรายได้
สูงกว่าค่าใช้จ่ายทุกปี ยกเว้นปีงบประมาณ 2553 ซึ่งกองทุนไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล โดยมีเพียงรายได้จาก
แหล่งอื่น จำนวน 112,678.66 บาท ประกอบด้วย รายได้จากดอกเบี้ย (เงินฝากธนาคาร) จำนวน 74,268.66 บาท รายได้จากการบริจาค
จำนวน 3,400 บาท และรายได้อื่นๆ จำนวน 35,010 บาท นอกจากนี้ จากการศึกษาของ Brooks (2000) ได้ศึกษาองค์กรไม่แสวงหา
กำไรและสรุปว่าในบางกรณีเงินอุดหนุนจากภาคเอกชนลดลงเพราะเมื่อภาครัฐให้การอุดหนุนมากขึ้น ภาคเอกชนจะรู้สึกว่าองค์กรที่ไม่
แสวงหากำไรเป็นเสมือนองค์กรของรัฐ (Quasi - Public Agency) จึงมีแนวโน้มการบริจาคที่ลดลง
นอกจากนี้งบประมาณที่อยู่ในกำกับของภาครัฐ มีข้อจำกัดในการเข้าถึงของภาคประชาสังคมกล่าวคือ กองทุนที่อยู่ภายใต้การดูแลของ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า กองทุนเหล่านี้ได้เพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละกองทุนได้เข้าถึง
แหล่งงบประมาณเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตมากขึ้น แต่พบว่ามีข้อจำกัดของกองทุนที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนการเข้าถึงทุนของ
กลุ่มเป้าหมาย ดังเช่น การบริหารจัดการกองทุนภายใต้ระบบราชการ ที่การใช้จ่ายงบประมาณมีการควบคุมตรวจสอบได้ แต่การบริหาร
แบบราชการกลับก่อให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาโครงการการจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคล ภาคประชาสังคมส่วนใหญ่จึงมิได้ขอรับการ
ส่งเสริม สนับสนุนจากภาครัฐ
เมื่อนำข้อมูลการบริจาคของภาคเอกชนให้กับกองทุนภาครัฐ ผนวกกับการบริจาคเงินของครัวเรือนไทยบริจาคให้องค์กรสาธารณประโยชน์
ไม่ถึงร้อยละ 3 และการได้มีแหล่งงบประมาณหลักมาจากการจัดสรรงบประมาณของรัฐ ซึ่งมีความไม่แน่นอนดังที่ได้กล่าวในข้างต้น
การที่องค์กรภาคประชาสังคมพึ่งพิงแหล่งงบประมาณทั้งจากภาครัฐและเงินทุนระหว่างประเทศ ซึ่งทั้งสองแหล่งเงินทุนมีข้อจำกัดคือ
งบประมาณของรัฐเป็นการจัดสรรที่แปรเปลี่ยนไปตามนโยบายทางการเมืองซึ่งทำขาดหลักประกันความต่อเนื่อง และส่งผลต่อการพัฒนา
กิจกรรมที่ต้องใช้ระยะยาว 3-5 ปี และในขณะที่ การได้งบประมาณองค์กรระหว่างประเทศนั้นมีจำนวนลดลง ส่งผลให้หลายองค์กรปิดตัวลง
หรือปรับเปลี่ยนประเด็นการทำงานตามนโยบายของผู้บริจาคต่างประเทศซึ่งอาจทำให้ประเด็นทางสังคมอื่นๆ ถูกมองข้ามไป นอกจากนี้
ประเทศไทยมีองค์กรที่สามารถพึ่งทุนจากการประกอบธุรกิจเพื่อการพัฒนาสังคม เช่น สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ซึ่งมี
กิจกรรมธุรกิจเพื่อสังคม แต่จากการศึกษาขององค์กร The Synergos Institution (2002) พบว่า สำหรับประเทศไทยเป็นการยากที่
องค์กรภาคประชาสังคมที่มีขนาดเล็กจะสามารถดำเนินการได้
คำถามประการหนึ่ง คือ สถานการณ์ด้านความมั่นคงการเงินขององค์กรภาคประชาสังคมไทยเป็นอย่างไร