กองทุนภาคประชาสังคม

รอวันฟ้าสีรุ้งผ่องอำไผ แล้วทุกเพศจะเป็นใหญ่ในสังคม

ในโลกปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่า โครงสร้างทางด้านเพศเปลี่ยนไป ไม่ได้มีเพียง หญิง หรือ ชาย ความหลากหลายทางเพศเป็นหนึ่งในประเด็น

ที่ถูกพูดถึง ได้รับการยอมรับ และมีกฏหมายนโยบายหลายอย่าง ซึ่งเอื้อต่อการใช้ชีวิตของกลุ่มบุคคลที่รักเพศเดียวกัน ในประเทศไทย 

สถาการณ์การเเพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีลดลงอย่างมาก แต่หากมองให้เห็นเฉพาะเจาะจง จะพบว่ายังคงมีสถานการณ์การติดเชื้อในกลุ่ม

"ชายรักชาย" อยู่มากภายใต้ความกังวล และความเป็นห่วงเป็นใย ทำให้ได้เกิดการรวมกลุ่มกันของกลุ่ม เกย์ กะเทย และผู้มีความหลากหลาย

ทางเพศ เพื่อดำเนินงานให้การช่วยเหลือ รณรงค์ส่งเสริมการป้องกันในกลุ่มเฉพาะเหล่านี้ และวันนี้ Thaicivilsociety จะพาไปทำความรู้จักกับ

"สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย"ผ่าน  คุณ ดนัย ลินจงรัตน์ ผู้อำนวยการสมาคมฯ ขอได้เปิดหัวใจให้การต้อนรับความหลากหลาย ที่จะ

เบ่งบานงดงามในหัวใจของทุกคนในสังคม นับจากนี้

 

 

ฟ้าสีรุ้งกำลังทำอะไร แล้วเริ่มมาได้เริ่มยังไง ?

ต้องบอกว่าจุดเริ่มต้นของเรามันคือ เมื่อ 18 ปีที่เเล้ว ต้องบอกว่าตอนนั้ไม่มีใครสนใจทำงานกับ กลุ่มชายรักชาย หรือ ฆยิงรักหญิงเลย ในแง่

ของการทำงานป้องกัน ทั้ง ๆ ที่คนติดเชื้อเอชไอวีรายเเรกเป็นชายรักชาย กลุ่มคนพวกนี้ถูกละเลยในการให้ความสำคัญไป ตอนนั้นก็มีการตั้ง

เป็นชมรมเพื่อวันพุธ เเล้วสมาชิกที่เข้ามาส่วนใหญ่ที่เห็นจะเป็นเกย์ เป็นกะเทยเเทบทั้งนั้น ทีนี้พวกพี่ ๆ ในชมรมเนี่ย  แทนที่เขาจะคิดถึงแต่

ตัวเอง คิดถึงการเข้าถึงยารักษา แต่กลับมาคิดว่าต้องเริ่มทำงานรณรงค์กันอย่างจริงจังเเล้ว  จึงเกิดเป็นการทำงานรณรงค์ป้องกันในกลุ่มเกย์ 

กะเทย โดยใช้ชื่อว่าเส้นทางสีรุ้งก่อน จนกระทั่งเราเริ่มทำงานกับกลุ่มหญิงรักหญิง เพิ่มมิติการทำงานเรื่องปกป้องคุ้มครองสิทธิ  ดังนั้นบอก

ได้ว่า เราเกิดมาจากชุมชน เกิดมาจากการรวมกลุ่มกันของคนที่หวังดี นี่จึงเป็นเหตุผลที่ตอนนี้เรารวมกันเป็น  "สมาคม"  ซึ่งจะไม่ใช่แค่เรา

เท่านั้นที่ทำงาน เราต้องผลักดันให้ชุมชนร่วมกันทำงานให้ได้ด้วย เราจึงยึดโยงกันด้วยระบบอาสาสมัคร ระบบสมาชิก เพื่อเป็นการเเสดงให้

เห็น ว่านี่คือพื้นที่ของทุกคน พวกคุณสามารถเดินเข้ามามีส่วนร่วมได้ ในการช่วยรณรงรค์ให้กลุ่มพวกเราไม่ติดเชื้อเอชไอวี จนถึงวันนี้จะว่า

เรามี ศูนย์สุขภาพที่ให้บริการแบบครบวงจร คือใหบริการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ฟรี ให้บริการตรวจเชื้อเอชไอวีฟรี  รวมถึงสามารถ

มารับยาได้ทุกวันศุกร์ ซึ่งจริง ๆ บ้านเราไม่มีนโยบายนะ แต่ที่ตรวจกันได้อยู่ภายใต้โครงการวิจัย ที่ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทยรับรอง 

เราจึงดำเนินงานได้ถูกต้องตามหลักการ และมีมาตรฐานภายใต้การกำกับดูแล แต่ก็นั่นแหละบ้านเรายังไม่มีนโยบายอยู่ดี เพราะฉะนั้น

ระหว่างที่เราทำงานเราก็ต้องทำงานด้านข้อมูล เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงที่เข้าถึงกับคนทุกคนด้วย ซึ่งแนวทางการทำงานแบบ

ศูนย์สุขภาพเนี่ย ไม่ได้เหมาะแค่กับกลุ่มประชากร แต่เหมาะกับโรคที่เป็นโรคเรื้อรัง โรคที่มีการตีตรา ที่ทำให้คนไม่ได้อยากไปใช้บริการ

ในระบบ ซึ่งนี่จะเป็นงานที่เรากำลังช่วยเเบ่งเบาภาระรัฐ

 

การรวมตัวกันทำสิ่งดี ๆ แบบนี้ยากง่ายอย่างไรบ้าง ?

     เมื่อก่อนไม่มีทุนที่ให้เงินในการทำงาน ไม่มีคนสนใจพวกเราแม้กระทั่งยาเราก็ไม่ได้รับ ตอนแรกที่เรารวมตัวกัน เราจะนัดทุกวันพุธ 

โดยมีวาระสำคัญ ๆ คือ "เราจะไปทำประโยชน์อะไรกันดี ?" มันจึงเป็นการรวมกันทำความดีทุกวันพุธ จากนั้นมันก็พัฒนามาเป็นการ

รวมตัวเพื่อเคลื่อนฝ่าเเรงกดดันให้กลุ่ม เกย์ กะเทย หรือหญิงรักหญิง ได้เข้าถึงยา เข้าถึงสิทธิต่าง ๆ นี่เป็นบทเรียนการรวมกลุ่มกันของ

สมัยก่อนนะ แต่มามองตอนนี้โลกพัฒนาแล้ว มีเรื่องของโซเชียลที่ช่วยให้รวมกันง่าย แต่ก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง  ซึ่งความสนใจก็จะถูก

แบ่งเป็นชิ้น ๆ ไม่ใช่ใช้ทั้งชีวิตแบบสมัยก่อน แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่สวยงามของการรวมกัน และเกิดเป็นการเรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเกิดจากการ

เสียสละตัวเอง นั่นหมายความว่าถ้าเราเชื่อเราก็เปลี่ยนโลกนี้ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเรารู้สึกว่าเรามีความแตกต่าง เบื้องต้นเรา ไม่สามารถรอ

ให้ใครมาทำอะไรให้เราได้นะ ไม่ใช่เพราะว่าเขาไม่มีน้ำใจ  แต่เขาไม่มีทางรู้รายละเอียดของวิถีชีวิตพวกเราเอง ได้ดีเท่าพวกเราหรอก 

เพราะฉะนั้นเราต้องลุกขึ้นมา เเล้วจับมือกับเพื่อนคนที่มีรายะเอียดวิถีชีวิตคล้าย ๆ เราทำอะไรเพื่อพวกเรา   แต่ต้องไม่คิดถึงเราเท่านั้น 

ผลประโยชน์ทั้งหมดต้องย้อนกลับไปหาสังคมวงกว้างได้ด้วย

 

 

แล้วสถานการณ์เรื่องผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในประเทศไทยตอนนี้เป็นไปแบบไหน ? 

     ภาพรวมการติดเชื้อรายใหม่ลดลงเร็วมาก แต่หลายปีมานี่มันไม่ค่อยลดลงเลย เอาเข้าจริงสถานการณ์เเพร่ระบาดของบ้านเรากับในรอบ ๆ 

ภูมิภาคเอเชียเนี่ยจะคล้ายกัน คือมันไม่ได้อยู่ในกลุ่มประชากรหลัก มันอยู่ในกลุ่มประชากรที่อยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง ที่เขาต้องหลบซ่อนตัว

จากการไม่ได้รับการยอมรับ เช่น ชายรักชาย แรงงานข้ามชาติ กลุ่มผู้ต้องขัง หรือกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด เพราะฉะนั้นภาพรวมที่จำนวน

ผู้ติดเชื้อไม่ลดลงก็จะอยู่ในกลุ่มพวกนี้ ถ้าหากไม่เริ่มทำอะไรก็จะไม่ลดลง จึงเริ่มมีการทำงานกับกลุ่มเฉพาะมากขึ้น รวมทั้ง "กลุ่มหญิงชายใน

สถาบันการสมรส" ด้วย  ซึ่งปริมาณของกลุ่มผู้ติดเชื้อ จากสถาบันการสมรสมีความชุกตามมาเป็นอันดับสองรองจาก กลุ่มชายรักชายเลยนะ 

จากการสำรวจทางวิชาการเนี่ย นั่นหมายถึงอะไร ? ชายรักชาย และกลุ่มคนรักเพศเดียวกันกำลังถูกทำให้เป็นอื่น แต่กลับหญิงชายในสถาบัน

การสมรสก็บอกว่ามันเป็นเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยแต่ใครจะมั่นใจในคู่ตัวเองได้บ้าง ?

 

 

หมายความ่ากลุ่มชายรักชายไม่ค่อยได้รับสิทธิและถูกกีดกัน ?

โอ้โห หลายอย่าง ยกตัวอย่าง การบริจาคเลือดกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ในปี 50 เนี่ย ถ้าเป็นคนรักเพศเดียวกัน จะบริจาคเลือดไม่ได้ 

พอเราตั้งคำถามว่า "ทำไม" เขาก็อ้างเรื่องสถิติการติดเชื้อขึ้นมานะ สุดท้ายหลังจากปี 50 มีการยอมให้หญิงรักหญิบริจาคเลือดได้แล้ว 

แต่กับกะเทย ชายรักชาย เเม้จะจะเคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันเเม้แต่ครั้งเดียวก็จะไม่รับ แต่ลองคิดดูดี ๆ ว่ากับชายหญิง

ในสถาบันการสมรส แม้จะเพิ่งมีเพศสัมพันธ์กันมาวันสองวันถุงยางก็ไม่ได้ใส่ กลับรับเพราะคิดว่ามันเป็นเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย มันดูลักลั่นมาก

เหมือนกลุ่มชายรักชาย หรือคนรักเพศเดียวกันอยู่คนละโลกกับหญิงชาย ทั้งที่อยู่ภายใต้โครงสร้างเรื่องเพศโครงสร้างเดียวกันแต่ถูกหลอก

ให้เชื่อไปคนละมุม 

 

ฟังอย่างนี้เหมือนการรวมกันของกลุ่มคนที่เรียกได้ว่าเสียผลประโยชน์ หรือถูกริดรอนบางอย่างไปในสังคม ไม่ใช่เพียงเพื่อการ

เรียกคืนสิ่งนั้น แต่กำลังเป็นการขับเคลื่อนในระดับนโยบาย ให้นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในทุกเพศทุกวัยใช่ไหม ?

ใช่ มันไม่ใช่แค่การทำความดีเพื่อตัวเอง หรือเพื่อคนอื่น แต่มันเป็นการทำความดีผ่านวิถีตัวเอง ต้องผลักให้เกิดดอกผลกับสังคมได้ด้วย

มันต้องไม่ใช่ทำในสิ่งที่เราได้ประโยชน์ แต่ต้องทำในสิ่งที่ประเทศเราได้ประโยชน์

 

กฏหมาย นโยบายของประเทศไทยมีส่วนเอื้อในการรวมกลุ่มกันทำความดีของกลุ่มเฉพาะแบบนี้ไหม ?

มันไม่ได้มีนโยบายอะไรเขียนไว้ชัด เเต่มันเป็นเรื่องทัศนคติของคนถือนโยบาย ทำไมกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน หรือกลุ่มเฉพาะแบบนี้จะ

จดทะเบียนเป็นมูลนิธิสมาคมอะไรซักอย่างจะต้องใช้ความพยายามมากเป็นสามสี่ปีไหม ทั้งที่เอกสารครบถ้วนถูกต้องตามระเบียบ

อันนี้ฝากไปคิดต่อดีกว่า

 

 

กลับมาที่คำถามว่า อะไรเป็นความสำเร็จของศูนย์สุขภาพฟ้าสีรุ้งที่ทำให้ดูมีผู้ใช้บริการ มีอาสาสมัคร เยอะขนาดนี้ 

คือเราต้องให้คุณค่าใหม่ อย่ามาบอกว่าคนที่มาตรวจเลือดคือคนมั่ว ชั่ว ร่าน แต่เป็นคนที่ใส่ใจตัวเองดูแลชุมชน คือเราให้ค่ามันใหม่ เพราะว่า

เอาเข้าจริงการมาตรวจเลือด คือการดูแลตัวเอง ในขณะเดียวกันหากเขาเป็นคนที่ได้รับเชื้อขึ้นมาจริง ๆ ก็จะได้เริ่มดูแลตัวเองเร็วขึ้นมากเท่านั้น

พอยิ่งกินยาเร็วเท่าไหร่ เขาก็จะกดเชื้อและลดอัตราการส่งต่อให้คนอื่นได้มากเท่านั้น ซึ่งเมื่อพอรู้ตัวเเล้วจะทำอะไรก็ต้องระมัดระวังป้องกัน

รวมทั้งต้องไม่ตีความให้กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ร้าย อีกอย่างคือความเป็นมิตรของสถานที่เป็นเรื่องสำคัญมาก เคยมีครั้งนะ น้องอาสาสมัครเป็น

ผู้หญิงข้ามเพศ คือมีหน้าอก มีอะไร ๆ ที่ทำมาเป็นผู้หญิง  แต่ไม่เปลี่ยนชื่อ  ไปถึงโรงบาลรูปร่างสวยเช้ง พยาบาลก็ตะโกนเรียกชื่อลั่นเลย 

"นาย วัชรพล" กว่าเขาจะกล้าลุกกล้ายืน มันก็กระมิดกระเมี้ยนนะ  ซึ่งความเป็นมิตรมันไม่ได้หมายถึงรอยยิ้ม เพราะที่ศูนย์สุขภาพฟ้าสีรุ้งเปิด

ตอนบ่ายสามถึงสามทุ่ม เสาร์ อาทิตย์ก็เปิด มันเป็นเรื่องการอำนวยความสะดวก

 

อนาคตของฟ้าสีรุ้ง ?

 เราสนใจสามสี่เรื่อง อย่างแรก คือการใช้ฮอร์โมนในคนข้ามเพศ เพราะเราเห็นพี่น้องเราเจ็บป่วยจากการใช้ฮอร์โมนผิดวิธีบ่อยมาก ทีนี้

เราเป็นคนรักเพศเดียวกัน เรื่องการวางแผนครอบครัวก็สำคัญกับพวกเรานะ นี่เป็นเรื่องสุขภาวะ เรื่องต่อมาเป็ฯเรื่องสิทธิและกฏหมายที่

จะทำให้เกิดการลดการตีตราตัวเองภายใน และการตีตราและเลือกปฎิบัติจากภายนอก คือความภาคภูมิใจในตัวเองและภาพลักษณ์ที่ดี

จากสังคม สุดท้ายเป็นเรื่องสำคัญ คือชุมชนความหลากหลายทางเพศเข้มเเข็งมันหมายความว่า คนมองเห็นคนเพศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เเค่

หญิงชาย 

 

 

เรื่อง / ภาพ  :  นพพล  ไม้พลวง

Tag

CSO
MSM
TG

powered by CIVIL SOCIETY EMPOWERMENT INSTITUTE