"ยาเสพติดเป็นภัยต่อชีวิตเป็นพิษต่อสังคม"
"ยาเสพติดพิษร้ายทำลายชาติ"
"คนเสพตาย คนขายติดคุก"
หลากหลายวาทกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด ที่เราได้ยินได้ฟังฝังหัวมาตั้งแต่เด็ก ล้วนถูกผลิตมาจากผู้บังคับใช้กฏหมาย และหน่วยงานรัฐ แทบทุก
หมู่บ้าน ชุมชน โรงเรียน มีชุดอาสาสมัครเฝ้าระวังยาเสพติด มีข้อความรณรงค์ให้เลิกยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และทุกวันในข่าวสารบ้านเมืองเราก็
มักจะได้ยินข่าวคราวการจับกุมเกี่ยวกับยาเสพติด ราวกับยาเสพติดไม่มีวันลดหาย หรือกลายเป็น "ศูนย์" ได้จริง ? หรือแท้แล้วประเทศไทย
กำลังจมอยู่ในวังวนของภาพลวงตาเกี่ยวกับการ "ขจัดสิ้น" ยาเสพติด วันนี้ Thaicivilsociety ขอเชิญมาล้อมวงคุยกับเครือข่ายคนทำงาน
"เพื่อการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด" ไม่ผิดนักหากจะบอกว่าเป็นการรวมกันของผู้ใช้ เคยใช้ และยังใช้สารเสพติดในประเทศไทย
แต่นัยของการรวมกันครั้งนี้เปลี่ยนไป ไม่ใช่รวมตั๋วรวมเงินกันซื้อยาเสพติด แต่พวกเขากำลังรวมพลังกันส่งสารบางอย่างแก่สังคม เช่นนั้นแล้ว
พวกเขากำลังคิดอะไร ในการทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย "ผู้ใช้ยาเสพติด" ขอชวนมาเปิดใจรับฟังความคิดอีกด้านกับ "สุพจน์ ตั้งเสรีทรัพย์"
ผู้จัดการมูลนิธิโอโซน
ทำไมโอโซนถึงเสี่ยงจะทำงานกับกลุ่มผู้ใช้สารเสพติด ?
: ต้องบอกก่อน ว่าเรื่องยาเสพติดเราอยู่กับความเชื่อที่ฝังอยู่ในหัว ไม่ได้อยู่กับข้อเท็จจริงมานานนม เราห้ามคนไม่ให้ทำพฤติกรรม
ใดพฤติกรรมหนึ่งไม่ได้ แต่เราสามารถป้องกันผลกระทบที่จะตามมาจากพฤติกรรมของเขาได้ เหมือนกับการใส่หมวกกันน็อค หมวก
กันน็อคไม่ได้ป้องกันอุบัติเหตุ แต่ป้องกันผลกระทบที่มันจะรุนแรงจากอุบัติเหตุได้ การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดก็เหมือนกัน
ถ้าเราเชื่อว่ายาเสพติดมันมีมาก่อนเราเกิด มีมานานหลายพันปี แล้วมันก็คงมีมาและจะมีต่อไป คนใช้ยาก็จะมีต่อไปในเมื่อเราทำให้คน
หยุดใช้ยาร้อยเปอร์เซนต์ไม่ได้ การลดอันตรายก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเป็นทางเลือกในการจัดการปัญหายาเสพติดของประเทศไทย
ต้องบอกว่าคนทำงานที่มูลนิธิโอโซน รวมถึงคนที่เริ่มช่วยกันเริ่มแนวทางการทำงานนี้มาก่อน แทบทั้งหมดเคยเป็นคนที่เคยใช้ยาเสพติด
มาก่อน บางคนก็ใช้แบบครั้งคราว บางคนก็ใช้เเบบพึ่งพิง เราจึงทำงานบนพื้นฐานที่คิดว่า จากประสบการตอนเราใช้ยา ไม่มีใครทำงาน
กับเราในเรื่องสุขภาพ ไม่มีใครมาสร้างการเรียนรู้กับเราว่าใช้ยังไงให้ไม่อันตรายจากโรค ไม่มีใครมาสร้างการเรียนรู้ว่ายาเสพติดไม่ใช่
ข้อผิดพลาดของชีวิต หลายคนพอเลิกใช้ยาตอนนี้กลายเป็นโรคเรื้อรัง ไวรัสตับอักเสบซี เอชไอวี มีความเจ็บป่วย เราไม่อยากให้ใครต้อง
ประสบปัญหาเรื่องเเบบนี้ เพราะหลายคนเลิกยามาได้ มีงานทำ มีอาชีพที่ดี แล้วพอมีภาวะเจ็บป่วยการดูแลครอบครัวมันก็ทำไม่ได้เต็มที่
แต่สิ่งที่สำคัญ คือการสร้างคุณค่าในตัวเองของผู้ใช้ยา การทำให้คนมองเห็นคุณค่าในตัวเอง ว่าการเป็นคนเคยใช้ยาเสพติด
หรือเป็นผู้เสพไม่ใช่อาชญากรหรือเป็นคนเลวระยำจนต้องรังเกียจตัวเอง หรือสังคมรังเกียจซึ่งมันจะทำให้เขารู้สึกมีคุณค่า
และอยู่ร่วมกับสังคม กับครอบครัวได้
: แล้วไอ้การเอาผู้ใช้ยามาอยู่รวมกัน มันเหมาะสมแล้ว?
แน่นอน ว่าถ้าเกิดการรวมกันของคนสนใจเรื่องเดียวกัน มันก็จะเกิดการสังเคราะห์พูดคุย ดูแล ถึงแม้ว่าคนใช้ยา มันจะต้องคุยกันเรื่องยา
เรื่องการใช้ยาเราก็ไม่ปฏิเสธหรอก เพราะถ้าเป็นการรวมกันของชมรมศิลปะ ก็ต้องคุยกันเรื่องศิลปะ แต่เรากำลังช่วยให้มันมีแง่มุม มีบทเรียน
อื่นในการพูดคุยเพราะผู้ใช้ยาแต่ละคนมีชุดประสบการณ์ไม่เหมือนกัน บางคนผ่านการเลิกใช้ยามาได้เเบบพลิกชีวิต บางคนเป็นผู้ใช้ยาที่มี
โรคแทรกซ้อนทั้ง เอชไอวี ไวรัสตับอักเสบซี ก็มาเเลกเปลี่ยนกันเรื่องการดูแลตัวเอง การผ่านพ้นช่วงเวลาในการรักษา การที่เกิดการรวมกัน
เเล้วเขาสามารถพูดความต้องการของตัวเองได้ มันก็จะทำให้ สถานการณ์อยากยาผ่อนคลายลงนะ ถ้าลองอยู่บ้าน บอกแม่ว่าวันนี้อยากใช้ยา
จังเลย ที่บ้านก็จะด่าว่ามึงจะไปคิดถึงมันทำไม นู่นนี่นั่นโดนด่าอีก แต่ถ้าเขามาพูดในกลุ่มผู้ใช้ยา มันก็ไม่ได้บอกว่ากูจะฝากซื้อยานะ ทั้งหมด
ทั้งมวล มันอยู่ที่ว่า เราจะยอมรับได้ไหมถ้าการรวมกันของเขาส่วนหนึ่งก็จะทำประโยชน์ให้แก่ตัวเขาเอง สังคม เเก่ส่วนรวม ซึ่งโอโซนเชื่อว่า
นั่นไม่ใช่ส่วนหนึ่งมันเป็นส่วนใหญ่ มันไม่ใช่การรวมกันในรูปแบบซ่องสุมผู้ค้ายาผู้เสพยา ทีนี้ถ้าเกิดการรวมกันแล้วมันจะน่ากลัวไหม มันก็เป็น
เรื่องที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ เเต่เราส่วนใหญ่ก็เชื่อว่ามันน่ากลัว โดยไม่ยินดีจะพิสูจน์ถูกไหม? แน่นอนการอยู่รวมกันมันก็ต้องมีกฏ มีระเบียบ
มาควบคุม ภายใต้การทำงานของเราก็มีการควบคุมเช่นกัน เพราะเราคงไม่เอาตัวเองมาเสี่ยงกับการติดคุกติดตาราง ดังนั้นการรวมกันของ
กลุ่มคนไม่ว่ากลุ่มไหน ถ้าเป็นไปในทิศทางที่มีประโยชน์มันก็จะมีประโยชน์ แต่อย่างพวกเราก็ใช้ระเบียบระบบภายในเพื่อควบคุมกันเอง
ซึ่งถ้าใครรู้สึกว่าที่ไหนปลอดภัยเขาก็จะไปที่นั่นในอนาคตมันเป็นเรื่องของการนำไปสู่การบำบัดรักษา การลด การนำพากันเลิกยาเสพติด
: ไม่ใช่ว่ารัฐก็มีหลักสูตรลด ละ เลิก ยาเสพติดพวกนี้อยู่หรอ?
สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเนี่ย ผู้ใช้ยาไม่มีสิทธิเลือก รัฐ เลือกให้ทั้งหมด มันก็ขัดแย้งนะ เพราะในกฏหมายเรามีวาทกรรมที่ถูกระบุมา
ยาวนานเป็นสิบปีว่า "ผู้ใช้ยาคือผู้ป่วย" ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยนะ วันนี้คุณเลือกได้ว่าคุณจะนอนอยู่บ้าน คุณจะเดินไปซื้อยาพาราฯที่ร้านขายยา
ไปหาหมอที่คลีนิคหรือโรงพยาบาลก็ได้ แต่ผู้ใช้ยาเนี่ยเป็นผู้ป่วยแบบไหน ? เป็นผู้ป่วยที่ไม่มีสิทธิรักษา หรือปฎิเสธการรักษา คนใช้ยา
ไม่มีสิทธิปฏิเสธการรักษ าและไม่สามารถเลือกวิธีการรักษาให้ตัวเองได้ ต้องใช้วิธีการที่รัฐเลือกให้เท่านั้น แต่ก็กลับไปที่ว่าวิธีการที่
เขาใช้ในการักษาอยู่มันเหมาะกับแต่ละบุคคลหรือเปล่า เพราะตอนนี้เรามีอยู่ทฤษฎีเดียวมันเหมือนเย็บเสื้อโหลให้ทุกคนใส่บางคนก็ฟิตไป
บางคนว่าใหญ่ไปเล็กไป สิ่งที่จะตามมา ถ้าเรายังคงดำรงนโยบายวิธีปฏิบัติแบบนี้อยู่เเล้วปัญหายาเสพติดมันจะหมดไปตามฟองน้ำลายที่เรา
พูดกันไหม ?
: หมายความว่าเราแก้ปัญหาไม่ถูกวิธี ?
ต้องบอกว่าประเทศไทยโหยหาสูตรสำเร็จในการทำให้คนเลิกยาได้ แต่ว่าประเทศไทยเองก็กลับปฏิบัติการด้านสื่อสารในการที่จะทำให้รังเกียจ
ผู้ใช้ยาเหลือเกิน มันก็มีปัญหาว่า หลายคนที่เคยใช้ยา หรือต้องเดิน ต้องกินต้องนอนข้างถนน พอวันหนึ่งเขากลับมาเรียน กลับมาทำงาน หยุด
ใช้ยาแล้ว พูดไม่ได้ว่าเขาเคยติดยาเสพติด เพราะมันมีผลกับงานการจึงทำคนใกล้ตัว ชุมชน สังคม ประเทศ ก็เลยไม่มีโอกาสได้รับประโยชน์
จากประสบการของเขาเลย ว่าเขาทำอย่างไรถึงสามารถหยุดใช้ยาได้ ดูแลตัวเองได้ กลับมามีชีวิตที่ดีได้ ประเทศไทยกำลังทำให้ตัวเองเสีย
ประโยชน์จากคนมหาศาล เพราะร้อยละร้อยของคนที่ใช้ยาเสพติด ไม่ใช่คนที่ใช้ยาเสพติดเเล้วมีปัญหา ซึ่งการใช้ยาเสพติดเองมันก็มีระดับ
บางคนใช้ยาเป็นครั้งคราว บางคนใช้ยาในภาวะพึ่งพิง ซึ่งกลุ่มผู้ที่ใช้ยาเสพติดในภาวะพึ่งพิง จำเป็นต้องได้รับการดูแล บำบัด รักษา อย่าง
เต็มที่แต่หลายคนที่ใช้ยาเพื่อความสนุก บันเทิงเป็นครั้งคราวคนเหล่านี้ดูแลตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องไปยุ่งอะไรกับเขา แต่นโยบายของรัฐ
ก็คือ ตั้งด่านตรวจฉี่ถ้ามีสีม่วงต้องไปบำบัดทั้งหมด ระหว่างที่เข้าไปบำบัดระหว่างนั้น ถ้าเขาเป็นพวกใช้ยาครั้งคราวไม่ได้ติด ไม่ได้พึ่งพิง
เขาต้องทำอย่างไรกับชีวิต เขาอาจขาดงาน ขาดรายได้ระหว่างที่หายหัวไปสามสัปดาห์ จะบอกที่ทำงานว่าไปไหนมา ? จะกลับไปทำงาน
ก็ไม่ได้เพราะขาดงานนานจนกลายเป็นคนตกงาน รัฐบาลก็สนับสนุนด้วยการฝึกอาชีพให้คนเหล่านี้ เพื่อหวังว่าเขาจะมีอาชีพ แล้วจะไม่กลับไป
หายาเสพติดอีก แต่ถ้าหากมองดี ๆ แสดงว่าคนเหล่านี้มีอาชีพอยู่แล้ว แต่คุณก็เอาเขาไปบำบัด ทำให้เขาตกงาน แล้วคุณก็ย้อนกลับมา
ส่งเสริมฝึกอาชีพ ดังนั้นเราต้องทำให้ผลกระทบจากการจัดการปัญหายาเสพติดลดลง แล้วเราจะทำให้คนที่ใช้ยาหลายคนที่ไม่มีปัญหายังคง
มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
: ยังยืนยันว่ามันหมายถึงเราแก้ปัญหายาเสพติดไม่ถูกวิธีไม่ถูกวิธี ?
จะบอกว่า คนที่หยุดใช้ยาไปแล้วเนี่ย ได้รับโอกาสน้อยมากจากสังคม ทั้งยังโดนกระทำการละเมิดสิทธิ การเลือกปฎิบัติ จริง ๆ เราทุกคนก็โดน
แบบนั้นนะ เริ่มตั้งแต่ถ้าวันนี้มีการตั้งด่านตรวจปัสสาวะ เราจะไปฉี่ที่ไหน ? ข้างทาง ? ซอกรถ ? การที่มนุษย์คนหนึ่งต้องถูกบังคับให้ควัก
อวัยวะเพศมาฉี่ข้างทางนี่มันก็น่าเห็นใจนะ อีกอย่างถ้ารัฐมองว่ากลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด ต้องย้ำว่าผู้ใช้นะ ไม่ใช่ผู้ค้า เพราะในทางกฏหมายมันมี
กระบวนการการแบ่งระดับแบ่งชั้นของโทษยาเสพติดอยู่แล้ว หากมองว่าผู้ใช้ยาคือผู้ป่วย ก็ควรให้สิทธิในการรักษากับเขาได้ด้วย ลองเทียบ
กันดูหากเราฆ่าคนตายมีหลักทรัพย์ ยังได้รับสิทธิประกันตัวนะแต่หากโดนข้อหาเสพยาเสพติดประกันตัวไม่ได้ ต้องรอตรวจพิสูจน์ ว่าปัสสาวะ
เรามีสารเสพติดจริงไหม ระหว่างรอพิสูจน์ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 45 วัน หรือส่วนใหญ่นานกว่านั้น ก็จะถูกคุมขังในสถานตรวจพิสูจน์ ซึ่งมัน
ตั้งอยู่ในคุก เข้าประตูเดียวกับคุก มีแดนแดนหนึ่งแปะป้ายว่าสถานตรวจพิศูจน์ แล้วก็บอกว่านี่ไม่ใช่คุก แต่ใช้ระเบียบทุกอย่างเหมือนนักโทษ
ต้องตัดผมสั้น ต้องล้วงทวารหนัก แบบนี้เรามาถูกทางแล้วจริง ๆ ใช่ไหม?
: ถ้าเช่นนั้น สิ่งที่โอโซนทำกับอาสาสมัครผู้ใช้ยาทำ กำลังนำไปสู่สังคมเเบบไหน แล้วพวกเราในฐานะคนภายนอกช่วยอะไรได้บ้าง ?
เรากับอาสาสมัครทุกคนกำลังทำงานเพื่อลดทัศนคติ ที่บอกว่าผู้ใช้ยาเป็นภาระ เเต่เราจะเปลี่ยนเป็นพลังของสังคม โดยการมาสร้างกลไกกลุ่ม
ในการสร้างชุดความรู้ ในการดูแลสุขภาพกันเอง แสวงหาทางเลือกในการจัดการเรื่องยาเสพติด เช่น การลดอันตรายจากการใช้ยา การให้
บริการด้านสุขภาพการส่งต่อรักษาในกลุ่มผู้ใช้ยา ดังนั้น ถ้าคนมองว่าผู้ใช้ยาไม่ใช่คนที่มีเกียรติ คนที่มีค่ามันก็ยากจะแก้ปัญหายาเสพติด
เพราะการที่เขามองตัวเองเป็นแค่ผู้ใช้ยาใครจะมาฟัง เท่านี้ก็สะท้อนให้เห็นแล้วว่า ไล่มาตั้งแต่สถาบันครอบครัว ชุมชน สื่อ รัฐ มองผู้ใช้ยาเป็น
บุคคลอีกระดับ แน่นอนว่าเป็นระดับที่ต่ำกว่า มีคุณค่าไม่เท่าคนอื่น จะทำอะไรกับกลุ่มผู้ใช้ยาก็ได้ ต้องบอกว่าคนเรามักมองเรื่องการใช้ยา
มาเป็นทั้งหมดของชีวิต คนหนึ่งคนเนี่ยมีความเป็นพ่อ เป็นเเม่ เป็นพี่ เป็นน้อง มีอาชีพ มีสังคม พอเวลาคนหนึ่งถูกรู้ว่าเป็นผู้ใช้ยานะ การถูก
ยอมรับในความสามารถในตัวมันหายไปหมดเลย มันจะถูกตีว่าไอ้นี่เป็นผู้ใช้ยา เราจึงเป็นภาคประชาสังคมที่ทำหน้าที่เสนอทางเลือกในการ
จัดการด้านยาเสพติด ที่ไม่ใช่แค่การปราบปราบจับกุมทำให้หมดไป คนในสังคมไม่จำเป็นต้องทำอะไรมากไปกว่าการทำความเข้าใจ ว่าปัญหา
ยาเสพติดไม่ได้แก้ให้หมดไปด้วยนโยบายแบบเย็บเสื้อโหล วันนี้ต้องบอกว่าเราทุกคนมีโอกาสเป็นผู้ใช้ยาทั้งนั้น จะทำยังไงให้การ "ทดลอง"
ใช้ยาของคุณไม่ใช่ความผิดพลาดทั้งหมดของชีวิต และคุณก็ยังมีโอกาสในการลดอันตรายจากการใช้ยาของคุณเอง รวมทั้งคนอื่น ๆ ยังมี
โอกาสในการได้เรียนรู้บทเรียนจากคุณ และนำไปสู่การแก้ปัญหายาเสพติดที่เป็นจริงได้
ภาพ / เรื่อง : นพพล ไม้พลวง